พะเยา ชาวบ้านร่วมปั้นเครื่องปั้นดินเผา -บูรณะเมืองโบราณเวียงบัว แหล่งโบราณคดี ที่มีเตาเผาโบราณ อายุ ๗๐๐ กว่า ปี ย้อนยุค
วันที่ 26 ก.ค 65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพรศักด์ เฉพาะทำ อายุ45ปี ประธานชมรมเครื่องปั้นดินเผาเวียงบัว บ้านเวียงบัว หมู่ 7 ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา พร้อมชาวบ้านในพื้นที่ร่วมฟื้นฟูเครื่องปั้นดินเผาเมืองโบราณเวียงบัว ซึ่ง เป็นแหล่งโบราณคดี ที่มีเตาเผาโบราณ ซึ่งมีอายุ 700 กว่า ปี โดยปั้นถ้วยชาม และอื่นๆเพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมโบราณเวียงบัว เพื่อรักษาเอกลักษณ์ไว้ ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา
สำหรับเตาเผาเป็นเตาเก๊ามะเฟืองมีความยาว 5.15 เมตร กว้าง 1.90-2.00 เมตร ปล่องสูง 1.65 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางปล่อง 1.65 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางปล่อง 40-45 ซม. พื้นเตาเป็นดิน ทาฉาบทับด้วยดินเหนียวมีแนวกันไฟสูง 35 ซม. ห้องเผามีความยาว 2.55 เมตร
จากการขุดพบหลักฐานการผลิตเครื่องจานชามเนื้อแกร่งชนิดเคลือบ ราวประมาณปีพ.ศ.1823 – 1843 ในสมัยพระยางำเมือง แห่งเมืองพะเยา พบลวดลายภูมิจักรวาลที่เป็นอัตลักษณ์ของเครื่องจานชามที่เวียงบัวหลายแบบ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัวคือ การกดทับลายด้วยดวงตรา การพิมพ์กดลาย การขูดเส้น ขูดสี เซาะร่อง แกะสลักลายเป็นรูปต่างๆ ส่วนใหญ่จะตกแต่งลวดลายตรงกลางชามด้านใน โดยมีบางชิ้นสภาพสมบูรณ์มีบางชิ้นแตกหักก็ได้เก็บรวบรวมไว้ภายในบริเวณเตาเผาโบราณเวียงบัว ได้เป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้าและท่องเที่ยว
นายพรศักด์ เฉพาะทำ อายุ45ปี ประธานชมรมเครื่องปั้นดินเผาเวียงบัว เล่าว่า ตนเองไม่ได้ เรียนรู้เรื่องการปั้นเซรามิคและดินเผามาก่อน แต่อยากฟื้นฟูแหล่งโบราณสถานเวียงบัวบ้านเกิดของตนเอง จึงได้ไปศึกษาและฝึกฝน และค้นคว้าหาแหล่งดินที่จะมาทำเซรามิคกว่า 1 ปี ซึ่ง ได้ปั้น 2แบบแบบเคลือบเซรามิค และดินเผา
สำหรับดินที่นำมาใช้ในการปั้นดินเผาของเวียงบัว เมื่อเสียและสามารถนำกลับคืนมาใช้ ซึ่งในการปั้นเซรามิค จะใช้อัตลักษณ์ของเวียงบัวลายลักษณ์ที่สำคัญที่พบได้แก่ ปลา สิงห์ ช้าง ม้า ดวงอาทิตย์ ธรรมจักร ก้นหอย ขวัญ อนันตวัฏฏะ ศรีวัตสะ นกหงส์ นกยูง นกสีแดงหรือฟีนิกส์ ซึ่งส่วนมากเป็นลายลักษณ์แบบใหม่ที่ยังไม่เคยพบเครื่องจานชามของแหล่งเตาอื่นๆ ในประเทศไทยหรือต่างประเทศมาก่อน จึงเอาแบบของโบราณมาถอดแบบแล้วทำขึ้นมาใหม่ ไว้จำหน่ายให้กับผู้สนใจนำไปเป็นที่ระลึกและเป็นอัตลักษณ์ ของบ้านเวียงบัวโบราณแบบย้อนยุค ในปัจจุบันดังกล่าว