แวดวงการศึกษา » สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ประกาศเกียรติคุณเฮือนต้นแบบในการอนุรักษ์ฟื้นฟูเฮือนโบราณภายใต้โครงการเรือนพื้นถิ่นล้านนา “เฮือนเก่า เฮาฮักษา” ประจำปี 65

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ประกาศเกียรติคุณเฮือนต้นแบบในการอนุรักษ์ฟื้นฟูเฮือนโบราณภายใต้โครงการเรือนพื้นถิ่นล้านนา “เฮือนเก่า เฮาฮักษา” ประจำปี 65

13 กรกฎาคม 2022
162   0

Spread the love

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัย เชียงใหม่มอบประกาศเกียรติคุณเฮือนต้นแบบในการอนุรักษ์ฟื้นฟูเฮือนโบราณภายใต้โครงการเรือนพื้นถิ่นล้านนา “เฮือนเก่า เฮาฮักษา” ประจำปี พ.ศ.2565

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ จัดพิธีมอบประกาศเกียรติคุณเฮือนต้นแบบในการอนุรักษ์ฟื้นฟูเฮือนโบราณ ภายใต้โครงการเรือนพื้นถิ่นล้านนา “เฮือนเก่า เฮาฮักษา” ประจำปี พ.ศ. 2565 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีดังกล่าว ในวันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2565 ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีเรือนโบราณที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นต้นแบบการอนุรักษ์ในชุมชนสันป่าตอง จำนวน 10 หลัง ได้แก่
1. เฮือนเฮือนป้อน้อยสิงห์แก้ว โดย พ่อครูโพธิ์ทอง คำภีระ
2. เฮือนแสนคันธา โดย พ่อทนายถวิล ไชยมณี
3. เฮือนป้อตุ้ยหนานทิม โดย แม่อำนวย โพธิ
4. เฮือนป้ออุ๊ยนวล แม่อุ๊ยปุ๊ด โดย แม่เทียมตา วิธุรัตน์
5. เฮือนแปแม่ครูพรพิมพ์ โดย แม่ครูพรพิมพ์ ไชยยารักษ์
6. เฮือนเชียงบุญ โดย แม่ครูอาภรณ์ สุวรรณเลิศ
7. เฮือนแม่อำพร โดย แม่อำพร เรือนมูล
8. เฮือนป้อตุ้ยใส่ – ตุ้ยปัน จันทร์ไชย โดย พ่อบุญธรรม สิงห์กันท์
9. เฮือนแสนกุย มหาอินทร์ โดย อาจารย์ ดร.ก้องเกียรติ มหาอินทร์
10. เฮือนป้อน้อยคำ โดย ร้อยตำรวจตรีเพชร เรือนจันทร์

โดยเรือนโบราณในชุมชนสันป่าตอง ทั้ง10 หลัง นี้ได้ร่วมดำเนินการอนุรักษ์ และเผยแพร่ข้อมูลความรู้เรื่องการจัดการเรือนโบราณล้านนา ให้กับสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เพื่อจัดเก็บเป็นคลังความรู้และเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งชุมชนสันป่าตอง เป็นชุมชนนำร่อง ที่ทางพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมบูรณาการร่วมกับหอศิลป์สันป่าตอง โดยมีอาจารย์รุ่งโรจน์ เปี่ยมยศศักดิ์ เป็นผู้นำสำคัญที่มีส่วนช่วยอย่างมากในการร่วมสร้างความเข้มแข็งด้านการอนุรักษ์เรือนโบราณ และพัฒนาร่วมกันกับเจ้าของและทายาทเรือนต้นแบบทั้ง10หลัง จนมีความพร้อมที่จะเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นๆ ที่มีความสนใจที่จะอนุรักษ์เรือนโบราณภายในชุมชน สามารถสร้างเครือข่ายด้านการอนุรักษ์ และเผยแพร่ความรู้เรื่องการจัดการเรือนโบราณล้านนาในอนาคตต่อไป