สกู๊ปพิเศษ » กกล.ชายแดนเร่งสร้างความเข้าใจ กรณีทำพื้นที่ชายแดนให้ปลอดภัยจากเชื้อโควิด ภายหลังใช้เป็นพื้นที่แรกรับชาวเมียนมา หนีภัยความไม่สงบ

กกล.ชายแดนเร่งสร้างความเข้าใจ กรณีทำพื้นที่ชายแดนให้ปลอดภัยจากเชื้อโควิด ภายหลังใช้เป็นพื้นที่แรกรับชาวเมียนมา หนีภัยความไม่สงบ

15 เมษายน 2021
231   0

Spread the love

กกล.ชายแดนเร่งสร้างความเข้าใจ กรณีทำพื้นที่ชายแดนให้ปลอดภัยจากเชื้อโควิด ภายหลังใช้เป็นพื้นที่แรกรับชาวเมียนมา หนีภัยความไม่สงบ

จากกรณีข้อวิจารณ์การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา ซึ่งเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าว เมื่อต้นเดือนเมษายน มีผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมาจำนวนมากได้เข้ามาพักชั่วคราวในพื้นที่ปลอดภัยแนวชายแดนและได้เดินทางกลับประเทศไปแล้วหลังเหตุการณ์คลี่คลาย  ซึ่งหลังจบเหตุการณ์ กองกำลังชายแดน ได้ปฏิบัติตามมาตรการดูแลพื้นที่ชายแดน โดยเฉพาะด้านความปลอดภัย และการควบคุมป้องกันโรค เพื่อให้พื้นที่นั้นกลับสู่สภาพปกติ พร้อมทั้งได้ทำความสะอาด และฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคป้องกันโรคติดต่อ ที่อาจแฝงมากับผู้หนีภัยฯ ตามมาตรการด้านสาธารณสุข  ทั้งนี้การฉีดพ่นฆ่าเชื้อหน่วยทหารได้บริหารจัดการ สิ่งอุปกรณ์และกำลังพลที่มีอยู่แล้ว โดยเป็นอุปกรณ์ที่หน่วยใช้ในภารกิจช่วยดับไฟป่าพร้อมขอสนับสนุนน้ำยาฆ่าเชื้อโรคจากหน่วยงานสาธารณสุข เป็นการนำเครื่องมือของส่วนราชการที่มีอยู่แล้วมาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าในการช่วยเหลือดูแลประชาชน ซึ่งหน่วยมองว่า การรวมตัวกันของคนจำนวนมากในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดความเสี่ยง   การทำพื้นที่ให้สะอาด จึงเป็นมาตรการป้องกันโรคติดต่อและ ลดการสะสมของเชื้อโรคต่างๆที่เกิดจากสภาพความเป็นอยู่และของเสียจากร่างกาย สุขอนามัยส่วนบุคคลในบริเวณที่เคยมีคนมาพักอาศัยเป็นจำนวนมากได้อีกทางหนึ่ง เป็นมาตรการสร้างความปลอดภัยและป้องกันโรคให้กับประชาชนในพื้นที่ชายแดน  ที่สำคัญเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนท้องถิ่น ในการกลับเข้าทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามวิถีเดิม เช่น ปลูกพืชล้มลุก หรือหาอาหาร เป็นต้น

อย่างไรก็ตามปัจจุบันกองกำลังชายแดนได้มีการทำความสะอาดล้างสิ่งปนเปื้อนและฉีดสารฆ่าเชื้อในพื้นที่สาธารณะ แหล่งชุมชน เช่น โรงเรียน วัด สำนักงาน  ตลาด สถานีขนส่ง หน่วยทหารของกองทัพบกได้ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ และประชาชนจิตอาสา ดำเนินการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ของเชื้อCOVID-19 อย่างต่อเนื่องทั้งภายในหน่วยทหาร และพื้นที่โดยรอบ  โดยตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2564 ถึงปัจจุบัน มีการปฏิบัติใน 268 พื้นที่ และ162 โรงเรียน ซึ่งเป็นการใช้ศักยภาพของกองทัพในการดูแลช่วยเหลือประชาชนอย่างดีที่สุด