สกู๊ปพิเศษ » ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 39 บูรณาการหน่วยงานหลักในจังหวัดพิษณุโลก นำร่องการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จ แก้ปัญหาสาธารณภัย

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 39 บูรณาการหน่วยงานหลักในจังหวัดพิษณุโลก นำร่องการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จ แก้ปัญหาสาธารณภัย

16 มิถุนายน 2021
363   0

Spread the love

ภาพการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานในจังหวัดพิษณุโลกที่มีศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 39 เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการฝึกปัญหาที่บังคับการ การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ด้วยระบบ ZOOM กับ จังหวัดพิษณุโลก และ อำเภอทั้ง  9 อำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์อุทกภัยและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก เป็นการนำร่องการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จ ของการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยภายในจังหวัด ซึ่งเมื่อเกิดเหตุหน่วยงานต่างๆสามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาตามแผนการที่ได้วางแผนร่วมกันไว้ ได้ ทั้งอัตรากำลังพล ยุทธโธปกรณ์ เครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเมื่อเกิดสถานการณ์

พลตรี นพดล รอดกลาง ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 39/ผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 39 เปิดเผยว่า ความร่วมมือของการจัดการฝึกปัญหาที่บังคับการ การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ด้วยระบบ ZOOM  กับ จังหวัดพิษณุโลก และ อำเภอทั้ง 9 อำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมแผนการรองรับสถานการณ์อุทกภัยและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก พิษณุโลก โดยได้แบ่งกลุ่มการฝึกเสมือนจริง เป็น 10 กลุ่ม ทั้ง กองฝ่ายอำนวยการ  กลุ่มหน่วยทหารที่รับผิดชอบพื้นที่ระดับอำเภอ ทั้งหน่วยในกองทัพบกและหน่วยนอกกองทัพบก ที่มีกองพันทหารม้าที่ 9, กองพันทหารสื่อสารที่ 4 ,กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 104 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4, มณฑลทหารบกที่ 39,กองพันรบพิเศษที่1กรมรบพิเศษที่ 4  , กองบิน 46, กองพันทหารช่างที่ 302 กรมทหารช่างที่ 3, หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 34 เป็นผู้รับผิดชอบ แบ่งตามอำเภอเสี่ยงทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก เพื่อให้เกิดความเข้าใจเมื่อเกิดสถานการณ์ ทั้งนี้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 39 กำหนดจัดให้มีแผนจัดการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (อุทกภัย) ระหว่างมณฑลทหารบกที่ 39 , หน่วยทหารที่รับผิดชอบระดับอำเภอ ร่วมกับ จังหวัดพิษณุโลก ด้วยการฝึกทางยุทธวิธีโดยไม่ใช้หน่วยทหาร และฝึกปฏิบัติจริงในพื้นที่อำเภอบางกระทุ่ม ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2564 นี้

อย่างไรก็ตามคาดหวังว่า ความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆในครั้งนี้จะเป็นการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จที่จะสามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์อุทกภัยและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกรวมทั้งขยายผลต่อจังหวัดต่างๆในภาคเหนือได้เป็นอย่างดี

กาญจนา   เกตุทองมา รายงานจากกองทัพภาคที่ 3